การใช้แอมโมเนียอย่างปลอดภัย
แอมโมเนีย (ammonia : NH3) เป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการใช้แอมโมเนียกันอย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันแอมโมเนียก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าผุ้ใช้ขาดความระมัดระวังและอาจเกิดอุบัติเหตุในการจัดเก็บ การใช้งานและการขนส่ง
จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากแอมโมเนียซึ่งเกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มักจะเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมห้องเย็น โรงน้ำแข็ง โรงงานทำไอศครีม โดยสาเหตุหลักเกิดจากความบกพร่องของอุปกรณ์ เช่น วาล์วรั่ว ท่อขนส่งแตกหรือประเก็นรั่ว เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์จากแอมโมเนียอุตสาหกรรมหลายชนิด ดังนั้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป รวมทั้งการเตรียมพร้อมในการจัดการรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความรุนแรงและความเสี่ยงของอุบัติเหตุได้ ในบทความนี้จึงกล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่างๆ ของแอมโมเนีย เช่น สมบัติทางกายภาพ กระบวนการผลิต การใช้ประโยชน์ ความเสี่ยงและอันตราย รวมถึงแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหล การเก็บรักษาและขนส่งอย่างปลอดภัย
คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ
แอมโมเนียเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรไนโตรเจน (nitrogen cycle) ที่ อุณหภูมิและความดันปกติ แอมโมเนียจะมีสถานะเป็นก๊าซ ไม่มีกลิ่นฉุนรุนแรงซึ่งทำให้เกิดการะคายเคืองได้ แต่ถ้าอยู่ภายใต้ความดันและอุณหภูมิเย็น จะมีสถานะเป็นของเหลว แอมโมเนียมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 17.03 มีความถ่วงจำเพาะที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เท่ากับ 0.7 (Merck, 1996) จุดเดือด -33.4 องศาเซลเซียส มีความดันไอ 6,460 มิลลิเมตรปรอทที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ก๊าซแอมโมเนียสามารถละลายน้ำได้ดี มีจุดติดไฟที่อุณหภูมิ 648.89 องศาเซลเซียส
แอมโมเนียจะเสถียรที่อุณหภูมิปกติ แต่จะสลายตัวให้ไนโตรเจนและไฮโดรเจนที่อุณหภูมิสูงลความดันบรรยากาศปกติ การสลายตัวเริ่มต้นที่อุณหภูมิ 450-500 องศาเซลเซียส การสลายาตัวของแอมโมเนียเป็นแหล่งที่ให้ไนโตรเจนและไฮโดรเจนบิสุทธ์
ประโยชน์ของแอมโมเนีย
ภาคเกษตรกรรม
แอมโมเนียส่วนใหญ๋ประมาณ 85 % ถูกนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ย โดยเฉพาะใช้ผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต (ammonium nitrate) และปุ๋ยยูเรีย (urea)
ภาคอุตสาหกรรม
- ใช้เป็นสารทำความเย็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมห้องเย็น โรงงานทำน้ำแข็ง และห้องแช่แข็ง
- แอมโมเนียทำปฏิกิริยากับ cyclohexanone ได้สารคาโปรแลกตัม (caprolactam) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำเส้นใยไนลอน (nylon)
- ใช้แอมโมเนียเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมการผลิตกรดไนตริก (nitric acid)
- ใช้ใน อุตสาหกรรมชุบแข็งและเคลือบผิวโลหะ โดยการทำให้แอมโมเนียแตกตัวทื่อุณหภูมิประมาณ 400-500 องศาเซลเซียส เพื่อให้สารไนโตรเจนเข้าไปอยู่ในโมเลกุลของโลหะ ทำให้โลหะมีคุณสมบัติแข็งขึ้นและลื่น เหมาะสมสำหรับใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ
- ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำยางเข้ามข้น (concentrate latex) โดยแอมโมเนียช่วยป้องกันการแข็งตัวของน้ำยางและยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบางชนิด
- ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสารคเลือบผิวจอภาพ
- นอกจากนี้แอมโมเนียยังมีการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างวัตถุระเบิด เช่น Tri Nitrotoluene (TNT), Nitro Cellulose Nitroglycerin และ Ammonium nitrate เป็นต้น
แนวทางปฏิบัติในการเก็บแอมโมเนีย
ภาชนะบรรจุแอมโมเนียควรได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจากหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ เช่น กรมโยธาธิการ กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีทั้งแบบภาชนะบรรจุที่ไม่มีระบบทำความเย็นและแบบที่มีระบบทำความเย็น โดยทั้งสองประเภทจะต้องมีเครืองหมายพร้อมแผ่นป้ายอยู่บนด้านนอกที่มองเห็นได้ ชัดเจน และต้องมีการระบุความจุของภาชนะ ความดันและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บ รวมถึงควรมีขีดบอระดับสูงสุดของแอมโมเนียที่สามารถบรรจุได้
นอกจากภาชนะแล้ว ห้องที่เก็บแอมโมเนียก็ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก สถานที่เก้บจะต้องติดป้ายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โดยควรตั้งอยู่ห่างจากสถานที่ทำงานที่มีคนทำงานหนาแน่นและควรมีการควคุมการเข้าออกอย่างรัดกุม ห้องที่เก็บควรมีอุณหภูมิเย็น อากาศถ่ายเทเพียงพอ ผนังห้องควรสร้างจากวัตถุทนไฟ มีทางเข้าออกเพื่อกรณีดับเพลิงได้อย่างสะดวก ควรพิจารณาถึงผลกระทบทางด้านกายภาพและอันตรายจากไฟ เช่น ในบริเวณที่เก็บต้องปราศจากวัสดุที่ลุกติดไฟได้ง่าย เช่น ลังกระดาษ เศษไม้ เป็นต้น หากที่เก็บแอมโมเนียเป็นแบบชนิดที่ติดตั้งถาวร ต้องตั้งอยู่ห่างจากบ่อน้ำหรือแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้อย่างน้อย 15 เมตร
แนวทางปฏิบัติในการขนส่งแอมโมเนีย
ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งแอมโมเนียจะต้องมีเครืองหมายที่เป้นสากลบ่งบอกถึงอันตราย และพิษภัยทางสารเคมี ถ้าใช้รถบรรทุกแอมโมเนียชนิดกึ่งรถพ่วงและรถพ่วง ต้องมีการยึดติดรถพ่วงกับตัวรถที่ใช้ลากอย่างมั่นคงและปลอดภัย ส่วนภาชนะบรรจุแอมโมเนียที่บรรจุรถพ่วงต้องมีมาตรวัดความดัน,อุปกรณ์วัดระดับของเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ขนส่งควรมีคู่มือการจัดการแอมโมเนียในกรณีเกิดอุบัติเหตุสาร เคมีหก รั่วไหล หรือกรณีเพลิงไหม้ รวมทั้งจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานของแอมโมเนีย เช่น สมบัติทางกายภาพและทางเคมี วิธีการดับเพลิงที่ถูกต้อง หรือวิธีปฐมพยาบาล รวมถึงมีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยปฏอบัติการฉุกเฉินได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหลและเกิดอัคคีภัย
- เมื่อพบเห็นการรั่วไหลของแอมโมเนียหรือเกิดเพลิงไหม้ร่วมด้วยภายในโรงงาน อุตสาหกรรม ให้กดสัญญษณแจ้งเหตุอันตรายแล้วโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน (Emergency Response Team : ERT)
- อพยพทุกคนออกจากพื้นที่ที่มีการรั่วไหลและที่ที่แอมโมเนียกระจายไปถึง โดยให้ทุกคนไปรวมกันในที่ปลอดภัยหรือจุดรวมพลที่ได้รับการฝึกซ้อมไว้ หากพบเห็นผู้ประสบภัยหมดสติในที่เกิดเหตุ ให้รีบช่วยเคลื่อนย้ายไปยังที่ปลอดภัยและมีอากาศบริสุทธิ์ ทำการปฐมพยาบาลแล้วจึงรีบนำส่งโรงพยาบาล
- กรณีเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย เพื่อหล่อเย็นและดับเพลิง แล้วรีบหยุดการรั่วไหลของแอมโมเนียทันทีเนื่องจากแอมโมเนียละลายาน้ำได้ดี จึงรวมตัวกับน้ำ ช่วยทำให้ก๊าซแอมโมเนียไม่ฟุ้งกระจายไปไกล นอกจากนี้ถ้ามีประกายไฟหรือเปลวไฟจะต้องใช้ผงเคมีแห้ง หรือคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อป้องกันการระเบิดหรือลุกไหม้ขึ้นได้อีก
- ในขณะการระงับเหตุรั่วไหลเจ้าหน้าที่จะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการสัมผัสกับแอมโมเนียโดยตรง
- ทำความสะอาดแอมโมเนียที่รั่วไหล ด้วยการใช้น้ำจำนวนมากๆ ฉีดเป็นฝอยเพื่อดูดซับก๊าซ และช่วยลดการเปลี่ยนจากสถานะของเหลวไปเป็นสถานะก๊าซได้ ทั้งนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้น้ำที่ละลายแอมโมเนียไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งชุมชนเพราจะทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องมีระบบสกัดกั้นให้น้ำที่ปนเปื้อนแอมโมเนียไหลไปรวมกันที่ระบบบำบัด น้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
- หลังจากจัดการกับเหตุการณ์รั่วไหลได้เรียบร้อยแล้ว ควรมีการดำเนินการสอบสวน เพื่อหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุในครั้งต่อไป รวมทั้งควรมีการตรวจสอบปริมาณแอมโมเนียในอากาศ น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน เพื่อประเมินปริมาณที่ตกค้างและดำเนินการกำจัดหรือชะล้างให้หมดสิ้นไป
แนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ
- เคลื่อนย้ายผู้ประสบเหตุจากแอมโมเนียออกจากที่เกิดเหตุไปยังที่อากาศ บริสุทธิ์ ดดยให้คนไข้นอนราบกับพื้น หายใจช้า ๆ เปิดตาเท่าที่จำเป็น ใช้ผ้าบางชุบน้ำเปียกปิดปากและจมูกระหว่างขนย้ายออกจากพื้นที่
- ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนแอมโมเนียออกทันที แต่ในกรณีเสื้อผ้าที่เย็นแข็งติดผิวหนัง ต้องทำให้อ่อนตัวก่อนถอดออก ล้างร่างกายด้วยน้ำอุ่นสะอาดอย่างน้อย 15 นาที
– กรณีที่แอมโมเนียสัมผัสตา ให้รีบล้างออกด้วยน้ำปริมาณมากๆ โดยเปิดน้ำให้ไหลผ่านตา อย่างน้อย 15 นาที แล้วรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว
– กรณี ที่แอมโมเนียสัมผัสผิวหนังล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำถ้าเกิดแผลใหญ่เนื่องจาก ความเย็น ห้ามถูหรือราดน้ำบริเวณนั้นให้รีบนำส่งแพทย์ทันที
– กรณี หายใจเอาก๊าซแอมโมเนียเข้าไป ควรรีบเคลื่อนย้ายออกจากที่เกิดเหตุไปไว้ในที่อากาศถ่ายเท ถ้าผู้ประสบเหตุหายใจอ่อนให้ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ นาน 2 นาที แต่ไม่เกิน 15 นาที แต่หากหัวใจหยุดเต้นให้ปั๊มหัวใจทันที
– กรณี กลืนกินแอมโมเนีย ให้บ้วนปากด้วยน้ำมากๆ และดื่มน้ำ 1 แก้ว และทำให้อาเจียนโดยใช้ยาขับเสมหะหรือวิธีการล้วงคอ ยกเว้นในรายที่หมดสติ ให้รีบนำส่งแพทย์ทันที - ผู้ประสบเหตุควรอยู่ในห้องที่อบอุ่น หรือทำร่างกายให้อบอุ่น โดยอาจใช้ผ้าห่มคลุมช่วย
- จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการาปฐมพบยาบาลเบื้องต้น รวมทั้งอุปกรณ์ป้งกันอันตรายส่วนบุคคลไว้ในบริเวณที่แอมโมเนียรั่วไหลไปไม่ ถึง และจะต้องดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPO/PPE)
ในการปฏิบัติงานกับแอมโมเนียจะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้ ถุงมือ รองเท้าบูธ ชุดกันสารเคมีที่ทำจากวัสดุยางบิวทิลและเทฟลอน แว่นนิรภัยหรือที่ครอบตาเพื่อป้องกันแอมโมเนียกระเด็นเข้าตา (air purify) สำหรับใช้กับก๊าซแอมโมเนียโดยเฉพาะ (แถบสีเขียว) แบบครึ่งหน้าสำหรับความเข้มข้นไม่เกิน 500 ppm แบบเต็มหน้าสำหรับความเข้มข้นไม่เกิน 2,500 ppm หากเกินกว่านี้หรือกรณีฉุกเฉินให้ใช้ชุดช่วยหายใจชนิด SCBA