ความปลอดภัย กับงานไม้
เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานไม้อาจทำให้เกิดอันตรายได้ หากใช้ไม่ถูกวิธี ควรศึกษาคู่มือการใช้ก่อนการทำงานทุกครั้ง
ข้อปฏิบัติ
- ใช้อุปกรณ์ป้องกันให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะงาน ให้สวมแว่นนิรภัยเป็นประจำเพื่อป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตาและถ้ามีฝุ่นฟุ้งจะต้องสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น
- ให้สวมอุปกรณ์ป้องกันเสียง หากไม่สามารถได้ยินเสียงพูดคุยปกติในระยะ 3 ฟุตได้แสดงว่าระดับเสียงของเครื่องจักร เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย
- ก่อนใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกครั้งให้ตรวจจนมั่นใจว่าการ์ดป้องกันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและครบทุกตำแหน่งที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
- มั่นใจว่าเครื่องจักรต่อสายดินอย่างถูกต้อง
- ตรวจเช็คว่าได้ถอดลิ่มประแจและเครื่องมือต่างๆ ออกจากเครื่องจักรก่อนเปิดเครื่องทำงาน
- ตรวจชิ้นงานว่ามีตะปูหรือเศษวัสดุอื่นฝังอยู่หรือไม่ก่อนทำการเลื่อย
- มั่นใจว่าเครื่องจักรมีปุ่ม เปิด-ปิด เครื่องที่สามารถควบคุมได้ง่ายและสะดวก
- มั่นใจว่าใบมีดหรืออุปกรณ์ที่ใช้ตัดสะอาดและคมซึ่งจะช่วยให้การตัดไม่ต้องใช้กำลังมาก
- ตรวจสอบและปรับแต่งเครื่องป้องกันต่างๆ
- ปิดเครื่องจักรก่อนทำความสะอาด ปรับแต่งหรือซ่อมแซมส่วนต่างๆ
- ใช้อุปกรณ์ส่งชิ้นงานเพื่อป้องกันอันตรายจากคมเลื่อย
- หลีกเลี่ยงการทำงานในท่วงท่าที่จะทำให้มืออาจลื่นไถลไปถูกคมเลื่อยได้
- ดูแลเก็บกวาดให้พื้นที่ทำงานสะอาดและจัดแสงสว่างให้เพียงพอ พื้นที่ยืนทำงานต้องมีระดับทำงานได้สะดวกและไม่ลื่น
ข้อห้าม
- ห้ามใช้มือปัดกวาดฝุ่นที่ติดบริเวณเลื่อยขณะเดินเครื่อง ให้ใช้ไม้หรือแปรงแทน
- ห้ามเปิดเครื่องทิ้งไว้ หากไม่ใช้งานให้ปิดเครื่องทุกครั้ง
- ห้ามพยายามขยับหรือปรับแต่งใบเลื่อยโดยไม่หยุดเครื่องเสียก่อน
- ห้ามรบกวนสมาธิผ้ปฏิบัติงานการหยอกล้อกันขณะทำงานอาจเป็นสาเหตุของการประสบอันตราย จึงต้องห้ามโดยเคร่งครัด
- ห้ามสวมเครื่องแต่งกายรุ่มร่าม ถุงมือ สร้อยคอ แหวน กำไล หรือเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้ถูกฉุดดึงเข้าไปในเครื่องได้
การแต่งกาย
ควรแต่งกายให้กระชับ รัดกุม สวมเครื่องป้องกันอันตรายอันเกิดมาจากทำงานไม้เช่น
- ผ้าปิดจมูกสวมทุกครั้งที่จะกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดฝุ่น เพื่อช่วยปกป้องฝุ่นจากเศษขี้เลื่อยที่อาจจะหลุดเข้าปอดเราได้
- ถุงมือผ้า ถ้าต้องยกไม้หรือป้อนงานทีมีผิวคมหรือเสี้ยนไม้ แต่ถ้าต้องทำงานกับเครื่องจักรบางครั้งถุงมือที่หลวมหรือมีเศษผ้าขาด อาจเป็นตั้นเหตุที่จะเข้าไปพันเข้ากับเครื่องจักรได้
- Ear Plugs ตัวเสียบหูและชุดครอบหู เพื่อลดเสียงดังจากภายนอกโดยเฉพาะขณะป้อนไม้เข้าเครื่องเสียงจะดังมาก
- แว่นตาเหมาะที่จะสวมทุกครั้งที่เข้าเครื่องจักรโดยเฉพาะ การเข้าเครื่องที่ต้องมองในระยะใกล้ๆ อาจมีเศษไม้หรือขี้เลื่อยหลุดกระเด็นมาเข้าตาเราได้
อุปกรณ์ช่วย ที่สร้างขึ้นมาและติดมากับเครื่องจักร
- ตัวกันไม้ตีกลับติดมากับเลื่อยวงเดือนกรณีทีไม้ที่เราป้อนเข้าเครื่องแล้ว มีส่วนใดที่เราเผลอหลุดเข้ามาท้ายใบเลื่อยหรือว่าช่วงดันไม้ออกจากใบเลื่อย ไม่แนบขนานกับรั้ว ถ้าไม่มีตัวกันไม้ตีกลับ(Back Kick)ไม้จะถูกดูดเข้ามาและพุ่งออกมาด้าน หรือตำแหน่งที่เรายืนอยู่ได้
- การ์ดป้องกันฟันเลื่อย
- อุปกรณ์ประคองติดมากับเครื่องเร้าเตอร์ นอกจากช่วยในเรื่องความปลอดภัยแล้วยังช่วยให้การทำงารง่ายขึ้นด้วย
- ตัวพาไม้แบบมือจับ สามารถสร้างขึ้นมาก็ได้ช่วยในกรณีที่เช้าเครื่องเลื่อยซอยไม้พื้นที่แคบๆ มือใกล้ใบเลื่อยเกินไป ลดอันตรายได้เช่นกัน
- เครื่องดับเพลิง เพราะงานไม้บางครั้งต้องมีวัตถุไวไฟเข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉเพาะงานสี