ทำงานกับ “รถเครน” อย่างไรให้ปลอดภัยสูงสุด
“รถเครน” ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆที่มีรูปร่างแข็งแรงและมีน้ำหนักมาก โดยสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุได้อย่างหลากหลาย ทั้งในรูปแบบของแข็งหรือของเหลวที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่แข็งแรงและมีความปลอดภัยสูง โดยรถเครนจะมีหลักการเคลื่อนย้ายวัตถุในแนวดิ่ง และมีการเคลื่อนที่โดยรอบไปมาตามลักษณะทิศทางที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้การทำงานของรถเครนจะทำงานผ่านทางเส้นสลิง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ มีความแข็งแรงสูง โดยใช้การถักสานเป็นโครง ตัวรถเครนจะมีปั้นจั่นซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เพื่อรองรับน้ำหนักต่างๆได้ตามต้องการ โดยจะต้องได้รับการรับรองความปลอดภัยจากวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งการทำงานของรถเครนเพื่อให้มีความปลอดภัยอย่างสูงสุดนั้น ผู้ใช้รถเครนจะต้องปฏิบัติตามกฎเหล่านี้
- ผู้ใช้รถเครน จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับใช้รถเครน โดยสามารถควบคุมกฎความปลอดภัยและสัญญาณมือในการเคลื่อนย้ายวัตถุได้
- ผู้ควบคุมรถเครนจะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีโรคภัยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน, ไม่เจ็บป่วยง่าย และจะต้องสวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่มีความรัดกุม มีความปลอดภัยสูง ทั้งหมวกนิรภัย, ปลั๊กอุดหู, อุปกรณ์เซฟตี้ต่างๆ ฯลฯ
- ในกรณีที่ห้องควบคุมรถเครนอยู่สูงจากพื้น บันไดที่จะขึ้นไปยังห้องควบคุมจะต้องมีความแข็งแรง ปลอดภัยและมีราวบันไดตลอดทั้งเส้นทาง
- ก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง ผู้ควบคุมรถเครนจะต้องตรวจเช็คระบบต่างๆให้ถี่ถ้วนเสียก่อน โดยจะต้องตรวจเช็คสวิตซ์เปิด-ปิดการทำงาน, สวิตซ์ควบคุมรถเครนและปั้นจั่นโดยรวม ซึ่งประกอบไปด้วย สวิตซ์การเคลื่อนที่เดินหน้า, สวิตซ์การเคลื่อนที่ถอยหลัง, สวิตซ์การยกขึ้น, สวิตซ์การยกลง, การเบรก, ระบบเสียงสัญญาณ, ระบบไฟ, ระบบสายพาน ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและสมบูรณ์มากที่สุด
- ผู้ที่อยู่ในภาคพื้นดิน จะต้องเรียนรู้การใช้สัญญาณมืออย่างแม่นยำและถูกต้อง โดยสามารถควบคุมรถเครนได้ และจะต้องสวมใส่อุปกรณ์เพื่อเสริมความปลอดภัยอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อนิรภัยสะท้อนแสง, รองเท้านิรภัย, ถุงมือนิรภัย, หมวกนิรภัย, แว่นตานิรภัย ฯลฯ เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด
- รู้มาตรฐานของกำลังรถเครนที่สามารถรองรับน้ำหนักได้ สามารถประเมินน้ำหนักของวัตถุที่จะทำการยกได้
- ควรดำเนินการด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างสูงสุด โดยระยะเริ่มต้นของการยกวัตถุ จะต้องดำเนินการอย่างช้าๆ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างรถเครนและวัตถุ
- ก่อนการเคลื่อนย้ายวัตถุทุกครั้ง จะต้องใช้ Outrigger หรือตีนข้าง เพื่อเสริมความแข็งแรง
- ในกรณีที่ใช้รถเครนเคลื่อนย้ายวัตถุตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ให้ใช้ผู้ควบคุมสัญญาณมือเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันความสับสนของผู้ใช้รถเครน
ในกรณีที่วัตถุลอยอยู่เหนือพื้น ให้ปฏิบัติดังนี้
– ห้ามให้วัตถุสัมผัสกับสิ่งอื่นใดๆทั้งสิ้น
– ห้ามให้วัตถุลอยอยู่เหนือหัวผู้ปฏิบัติงานท่านอื่น
– ห้ามผู้ปฏิบัติงานโดยสารไปกับวัตถุที่ยกโดยเด็ดขาด
– จะต้องใช้สัญญานเสียงและสัญญานแสงที่ชัดเจน มองเห็นเด่นชัด
– ห้ามแขวนวัตถุให้ลอยอยู่เหนือพื้นดินโดยเด็ดขาด
– หากเกิดลมแรงจนวัตถุลอยไปมา ให้ทำการวางวัตถุลงกับพื้นโดยเร็วที่สุด
– ในกรณีที่ต้องวางวัตถุลงต่ำ จะต้องใช้ลวดสลิง ตั้งแต่ 2 รอบบนดรัม
– กรณีการใช้รถเครนใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูง จะต้องเว้นระยะห่างระหว่างรถเครนกับ- สายไฟฟ้าอย่างน้อย 3 เมตร เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด
– การใช้รถเครนที่มีตุ้มถ่วงน้ำหนักด้านท้ายปั้นจั่น ห้ามใช้ตุ้มถ่วงเพิ่มน้ำหนักอีกโดยเด็ดขาด
– กรณีการปฏิบัติงานในเวลากลางคืน จะต้องมีแสงไฟส่องสว่างให้เห็นเด่นชัด
– กรณีปั้นจั่นอยู่บนตึกสูงจะต้องมีคลื่นเสียงเพื่อส่งสัญญาณให้เคลื่อนบินรับทราบด้วย
– การยกสิ่งของจะต้องยกในแนวดิ่งเท่านั้น
– ห้ามไม่ให้ผู้ใดซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในห้องควบคุมรถเครนโดยเด็ดขาด
– กรณีเลิกใช้งานรถเครนจะต้องวางสิ่งที่อยู่บนปั้นจั่นกับพื้น, ม้วนตะขอและสลิงเก็บเข้าที่,เบรกและล็อคอุปกรณ์ทุกชิ้นส่วน, ปิดสวิตซ์ควบคุมการทำงานทั้งหมด
– บำรุงรักษารถเครนตามระยะเฉกเช่นเดียวกับรถยนต์โดยทั่วไป