แว่นตานิรภัยเป็นอุปกรณ์ป้องกันดวงตาที่หาได้ง่ายรูปร่างลักษณะคล้ายกับแว่นตาโดยทั่วไปแต่จะแตกต่างกันในส่วนของความทนทานแข็งแรงและวัสดุที่ใช้ทำแว่นกับเลนส์ที่ใช้ตามความจำเป็นของลักษณะงานแต่ละชนิดเช่นป้องกันแสงจ้าป้องกันความร้อนป้องกันสารเคมีรังสีกันลมหรือต้านแรงกระแทกส่วนใหญ่จะทำจากวัสดุประเภทโพลีคาร์บอเนตซึ่งมีทั้งชนิดที่มีกระบังด้านข้างช่วยป้องกันเศษสิ่งของวัสดุกระเด็นเข้าทางด้านข้างกับชนิดไม่มีกระบังด้านข้างใช้สาหรับป้องกันอันตรายเข้าทางด้านหน้าเท่านั้นและมีทั้งแบบที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับการใช้งานได้กับแบบที่คงที่วัสดุที่ใช้ทำกรอบแว่นนั้นมีทั้งที่ทามาจากโลหะและพลาสติกและชนิดผสมระหว่างโลหะกับพลาสติกที่มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนดูดซึมเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายไม่มีกลิ่นหรือเป็นพิษกับผู้ใช้ ซึ่งตามจริงแล้วอุปกรณ์ป้องกันดวงตาก็ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 ประเภทคือ
1. แว่นตานิรภัย (Protective spectacle)
2. แว่นครอบตานิรภัย (Safety Goggles)
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตามีอะไรบ้าง?
1. การกระแทก: เกิดจากการกระเด็นของวัตถุเช่นเศษไม้, โลหะมักจะเกิดกับงานเชื่อม, กลึง, งานพ่นทราย, เลื่อยไม้, เจาะไม้, ยิงตะปู
2. สารเคมี: เกิดจากการกระเซ็นของของเหลว, ไอระเหย, ละอองสารเคมีทำให้เกิดอาการปวดไหม้ตาแดงเปลือกตาบวมงานผสมสารเคมี, งานล้างทำความสะอาดต่างๆ, งานชุบโลหะ
3. ฝุ่น: จะเกิดในพื้นที่ทำงานที่มีฝุ่นผงโดยฝุ่นหรือผงอาจจะกระเด็นหรือลอยเข้าตาเช่นงานขัดไม้งานปูน
4. แสง, รังสี: เป็นแสงที่เป็นอันตรายต่อตาเช่นแสงอินฟราเรด, แสงยูวี, อาจจะเกิดในงานเชื่อมตัดบัดกรีหรืองานที่มีแสงเลเซอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง
5. ความร้อน: เกิดจากงานที่ทำกับความร้อนสูงซึ่งอาจจะมีไอความร้อนพ่นเข้าใส่ดวงตาเช่นคนที่ทำงานกับเราหลอม, งานหล่อหรืองานเชื่อมต่างๆ
สีของเลนส์ควรเลือกให้เหมาะกับงานที่ทำสีเลนส์ของแว่นตานิรภัยนั้นแบ่งเป็น 3 สีหลักๆ ดังนี้
1. เลนส์ใส : เป็นเลนส์ที่มองเห็นได้ดีที่สุดใช้สำหรับป้องกันวัสดุกระเด็นเข้าดวงตาเท่านั้นเหมาะสำหรับใช้งานในร่มและเป็นงานที่ไม่มีความเสี่ยงจากแสงจ้าจากการทำงาน
2. เลนส์สีชา : เหมาะสำหรับทั้งงานในร่มที่มีแสงน้อยและกลางแจ้งที่มีแสงมากเช่นงานใน warehouse พนักงานขับรถใน warehouses
3. เลนส์เทา : เหมาะกับงานที่มีแสงจ้าหรือที่ต้องสัมผัสแสงแดดเช่นงานกลางแจ้ง
ทำไมใส่แว่นตานิรภัยแล้วรู้สึกเวียนหัว?
หลายๆท่านประสบปัญหาใส่แแว่นตานิรภัยแล้วเวียนหัวทำงานไม่สะดวกจึงเลือกที่จะไม่ใส่เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าแว่นตานิรภัยที่ถูกผลิตมานั้นมีค่าสายตาอยู่ซึ่งค่าสายตาที่ว่านี่แบ่งเป็น 3 ระดับโดยที่แว่นที่มีคุณภาพดีจะมีค่าสายตาอยู่ในระดับ 1 ซึ่งไกล้เคียงกับค่าสายตาจริงมากที่สุดค่าสายตาจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ ดังนี้
1: ระดับค่าสายตา + /-0. 06 สวมใส่ได้ตลอดเวลา
2: ระดับค่าสายตา + /-0. 12 สวมใส่ได้บางโอกาส
3: ระดับค่าสายตา + /-0. 25 สวมใส่เฉพาะเวลาทำงาน
*** เพราะฉะนั้นผู้ใช้งานควรเลือกใช้แว่นตาที่มีค่าสายตาเหมาะสมกับแต่ละท่าน
คุณสมบัติอื่นๆของแว่นตานิรภัย
- N เคลือบสารกันฝ้า
- K เคลือบสารกันรอยขีดข่วน
- T ทนความร้อนได้-5 °c-55 °c (+ 2 °c)
- 3 ป้องกันของเหลว
- 4 ป้องกันฝุ่นหยาบ (> 5 ไมโครเมตร)
- 5 ป้องกันฝุ่นละเอียดและก๊าซ (<5 ไมโครเมตร)
- 9 ป้องกันความร้อนและโลหะหลอมเหลว
มาตรฐานระดับการป้องกันการกระแทกแว่นตานิรภัย
มาตรฐานระดับการป้องกันการกระแทกแว่นตานิรภัยจะมีระดับการกระแทกอยู่ทั้งหมด 3 ระดับ โดยที่จะแสดงเป็นสัญลักษณ์บนแว่นดังนี้
1. F: Low Energy กันกระแทกในระดับต่ำ
2. B: Medium Energy กันประแทกในระดับปานกลาง
3. A: High Energy กันประแทกในระดับสูง 2-12 p
วิธีการเลือกซื้อแว่นตานิรภัย