ไม้ชักฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำงานของช่างไฟฟ้า

ไม้ชักฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำงานของช่างไฟฟ้า

คำแนะนำในการใช้ไม้ชักฟิวส์

ไม้ชักฟิวส์ เป็นอุปกรณ์ช่วยในการทำงานของช่างไฟฟ้า และทำหน้าที่เป็นฉนวน เพื่อป้องกันผู้ทำงานจากกระแสไฟฟ้า

ลักษณะการใช้งาน :

  • ใช้สำหรับปลด สับ ชัก ดึง อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
  • ใช้สำหรับปลด สับฟิวส์คัทเอาท์ ฟิวส์แรงสูง
  • ใช้สำหรับเคาะตรวจสอบลูกถ้วยฉนวนแรงสูง

การประกอบไม้ชักฟิวส์ให้หมุนข้อต่อท่อนที่ 1-3ให้แน่นโดยหมุนตามเข็มนาฬิกา

การจับไม้ชักฟิวส์ขณะใช้งาน

  • กรณีจับมือซ้ายสูงกว่ามือขวา ให้ขาซ้ายก้าวไปข้างหน้าขาขวาอยู่ด้านหลัง
  • กรณีจับมือขวาสูงกว่ามือซ้าย ให้ขาขวาก้าวไปข้างหน้าขาซ้ายอยู่ด้านหลัง
  • ระหว่างใช้ไม้ชักฟิวส์ควรระวังไม่ให้ไม้ชักฟิวส์กระแทกพื้น โดยยืนให้มั่นคง วัดระยะการใช้งานให้เหมาะสมก่อน เพราะการแทกจะทำให้เสียการทรงตัวหรือเกิดความผิดพลาดในการทำงาน ผู้ที่ต้องใช้งานไม้ชักฟิวส์เป็นประจำควรหมั่นฝึกซ้อมการใช้ไม้ชักฟิวส์ร่วมกับร่วมกับถุงมือกันไฟฟ้าให้ถนัดมือ เพื่อหาระยะที่เหมาะสมกับแรงของตนเอง เพราะถ้าแรงไปก็ดรอปหัก เบาไปก็เกี่ยวไม่ถึงเป้าหมาย ถ้าพลั้งพลาดไปอาจทำให้กระแสไฟฟ้าวิ่งมาหาเราได้

ไม้ชักฟิวส์มาตรฐาน จะทดสอบที่แรงดัน 100KV แต่ถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะเป็นสื่อนำไฟฟ้ามาหาตัวเราได้ ขณะใช้งานควรยืนในที่แห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้ไม้ชักฟิวส์ในสภาพฝนตก แต่ถ้าต้องปฏิบัติงานในสภาวะที่มีความชื้นสูงให้ใช้งานร่วมกับถุงมือกันไฟฟ้า (Dielectric Rubber Glove) และควรใส่หมวกเซฟตี้ร่วมด้วย ป้องกันในกรณีที่ไม้ชักฟิวส์หลุดมือมาพาดที่ศีรษะซึ่งจะนำพากระแสไฟฟ้ามาสู่ร่างกายเราได้ง่ายเหมือนกัน

การดูแลรักษาไม้ชักฟิวส์

ก่อน-หลังการใช้งานไม้ชักฟิวส์ต้องทำความสะอาดให้ดี เพราะฝุ่นหรือคราบเขม่าคาร์บอนต่างๆก็เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ การใช้งานควรใช้วิธีประคองไม้ชักฟิวส์ไปยังจุดที่ต้องการไม่ควรครูดไปกับวัตถุที่กีดขวางให้ไม้เกิดความเสียหาย เพราะถ้าไม้ชักฟิวส์เป็นรอยก็เป็นอันตรายอาจทำให้ประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนไม่ดีพอ

และบ่อยครั้งที่จะเห็นผู้ที่ประมาทนำวัตถุทั่วไปมาใช้แทนไม้ชักฟิวส์ เช่น ไม้ไผ่ยาว ซึ่งถือเป็นการกระทำที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิตเป็นอย่างยิ่ง แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานจะดีกว่า